|
สะตอ
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Parkia
speciosa
Hassk.
วงศ์ :
Mimosoideae
ชื่อสามัญ
: Nitta tree
ชื่ออื่น :
กะตอ, สะตอ, ตอดาน, ตอข้าว (ภาคกลาง, ภาคใต้); ปะตา,
ปัตเต๊าะ (มลายู-ยะลา, ปัตตานี); ปาไต (มลายู-สตูล)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ยืนต้น ลำต้นเปลาตรง รากมีพูพอน
ผิวเปลือกนอกหลุดลอกเป็นสะเก็ดเล็กน้อย
สีน้ำตาลปนสีขาว สูงชะลูด ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 2
ชั้น ก้านใบชั้นแรกยาว 15-40 ซม. โคนก้านใบมีต่อมยาว
4-6 มม. ก้านใบชั้นที่ 2 ยาว 6-10 ซม. ใบย่อยมี 14-18
คู่ ขนาดเล็กรูปไข่ กว้าง 1.5-2 มม. ยาว 5-10 มม.
ก้านใบย่อยยาว 0.5-1 มม. ปลายใบมน
ฐานใบเบี้ยวขึ้นเป็นติ่ง ช่อดอก
เกิดที่ปลายยอดเป็นช่อดอกรวมคล้ายดอกกระถินรวมกันเป็นกระจุก
ก้านช่อดอกยาวห้อยลง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด
ปลายแยกเป็นแฉกๆ สีขาวครีมหรือขาวอมเหลือง ยาว 9-12 มม.
ดอกสมบูรณ์เพศ ผล เป็นฝักแบนกว้าง 3.5 ซม. ยาว 35-50
ซม.เมื่อแก่ฝักมีสีเขียว เนื้อในฝักสีขาว
เมื่อสุกฝักจะเปลี่ยนเป็นสีเทาดำ และดำในที่สุด
เนื้อในฝักจะเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือสีแดง
ฝักสะตอโดยทั่วไปจะบิดเป็นเกลียวห่าง เมล็ด รี
ค่อนข้างกลม เรียงตามขวางฝัก กว้าง 1-2 ซม. ยาว 2-2.5
ซม. มีรสเผ็ดร้อน กลิ่นฉุนเล็กน้อย
สะตอพบแพร่กระจายตามป่าดิบชื้น ป่าเชิงเขา
หรือป่าโปร่ง ในภาคตะวันออก ภาคใต้และแหลมมลายู
ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและการติดตา
ประโยชน์ :
ฝักและเมล็ดแก่
นิยมนำมาบริโภคเป็นผักสด ใช้ประกอบอาหาร หรือนำมาดอง
ฝักสดใช้ประกอบยาสมุนไพรแก้โรคเบาหวาน
|
|