กระถินเทศ
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Acacia
farnesiana
(L.)
Willd. Mabb.
วงศ์ :
Leguminosae - Mimosoideae
ชื่อสามัญ
: Sponge Tree , Sweet acacia
ชื่ออื่น :
กระถิน (ภาคกลาง); กระถินเทศ, กระถินหอม, คำใต้,
ดอกคำใต้ (ภาคเหนือ); เกากรึนอง (กาญจนบุรี); ถิน
(ภาคใต้); บุหงาเซียม(มลายู-ภาคใต้); บุหงาละสะมะนา
(ปัตตานี); บุหงาอินโดนีเซีย(กรุงเทพมหานคร); มอนคำ
(เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้พุ่มขนาดเล็กสูง 2-4 เมตร
ลำต้นมีหนาม กิ่งก้านมีสีน้ำตาลคล้ำ ใบ
เป็นใบประกอบเรียงตัว 2 ชั้น ยาว 5-8 ซม.
มีขนอ่อนประปราย มีใบย่อย 10-20 คู่ หูใบเป็นหนามแข็ง
1 คู่ ยาวประมาณ 1-1.5 ซม. ดอก เป็นช่อ ออกตามง่ามใบ
กลุ่มละ 2-5 ช่อ มีดอกย่อย เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซม.
มีสีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม แต่ละช่อประกอบด้วยดอกเล็กๆ
จำนวนมาก มีใบประดับเล็กๆ
เรียงเป็นวงอยู่ด้านล่างของช่อดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ
กลีบดอกเป็นหลอดส่วนปลายมี 5 กลีบ
รังไข่ยาวเป็นหลอดมีเกสรตัวผู้มาก เส้นผ่าศูนย์กลาง
1-1.5 ซม. โคนฝักสอบมีเมล็ด 3-15 เมล็ด
เมล็ดเล็กสีน้ำตาล เป็นมัน รูปรี
กระถินเทศเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของทวีปอเมริกาเขตร้อน
นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยนานมาแล้ว
และแพร่กระจายไปทั่วทุกภาค
ตามที่ลุ่มที่มีน้ำท่วมถึงและตามริมฝั่งน้ำ
ปลูกกันทั่วไปในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน
ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
ประโยชน์ :
ด้านสมุนไพร เปลือกต้น
ใช้สมานแผล ห้ามเลือด แก้ท้องเสีย แก้ไอ ริดสีดวงทวาร
ใบ ใช้ใบสด เป็นยาฟอกแผล ราก ต้มน้ำอมแก้ปวดฟัน ยาง
ใช้เป็นกาวทาได้ เรียกว่า กัมอะเดเซีย
สามารถพัฒนาเป็นสารยึดเกาะในอุตสาหกรรม
การผลิตยาเม็ด เข้ายาอายุวัฒนะ ดอก
สกัดกลิ่นหอมเป็นน้ำหอม ใช้เป็นยาแก้เกร็ง ฆ่าแมลง
แต่งกลิ่นอาหาร
|