หมีเหม็น
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Litsea
glutinosa
(Lour.) C.B. Rob.
วงศ์ :
Lauraceae
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น :
กำปรนบาย (ชอง-จันทบุรี); ดอกจุ๋ม (ลำปาง); ตังสีไพร
(พิษณุโลก); ทังบวน (ปัตตานี); มะเย้อ, ยุบเหยา,
หมีเหม็น (ชลบุรี, ภาคเหนือ); มือเบาะ (มลายู-ยะลา);
ม้น (ตรัง); เส่ปึยขู้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); หมี
(ลำปาง, อุดรธานี); หมูทะลวง (จันทบุรี); หมูเหม็น
(แพร่); อีเหม็น (กาญจนบุรี, ราชบุรี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ยืนต้น สูง 5-15 เมตร ใบ
เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนาน
หรือรูปไข่กลับ กว้าง 7.7-10 ซม. ยาว 14.8-22 ซม.
ผิวใบด้านล่างมีขน ดอก เป็นช่อออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ
ไม่มีกลีบดอก เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก
สีเหลืองอ่อนปนเขียว ดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ดอกย่อยมี
7-9 ดอก ต่อช่อ ผล รูปทรงกลมเมื่อสุกสีม่วงเข้ม มี 3-5
ผล ต่อช่อ ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด
ประโยชน์ :
ด้านสมุนไพร ราก
แก้ปวดกล้ามเนื้อ เปลือกต้น แก้บิด แก้ปวดมดลูก แก้คัน
ใบและเมล็ดตำพอกฝีแก้ปวด
ยาพื้นบ้านใช้เปลือกต้นหรือรากผสมกับเมล็ดหรือผลน้อยหน่าที่แห้งคาต้น
ฝนน้ำทารอบฝีให้รัดหนองออกมา
|