คนทีเขมา
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Vitex
negundo L.
วงศ์ :
Labiatae
ชื่อสามัญ
: Indian privet
ชื่ออื่น :
คนทีเขมา (ภาคกลาง); กุโนกามอ (มลายู-ปัตตานี); กูนิง
(มลายู-นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้พุ่ม สูง 2-5 เมตร
แตกกิ่งก้านสีเทา แน่น ตามกิ่งก้านมีขนสีขาวสั้นๆ
ปกคลุม กิ่งก้านเป็นรูปสี่เหลี่ยม ใบ ประกอบรูปนิ้วมือ
เรียงตรงข้าม แต่ละคู่ตั้งฉากกัน ใบย่อย 5 ใบ
ใบย่อยขนาดกลางมีขนาดใหญ่ที่สุด รูปใบหอกแคบยาว
ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ
ทุกส่วนของใบมีขนละเอียดสั้นๆ ปกคลุม ดอกสีฟ้า
ออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนงที่ปลายกิ่งและซอกใบใกล้ปลายกิ่ง
โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวยแคบ ปลายแยกเป็น
5 แฉก รูปสามเหลี่ยม มีขนนิ่มสั้นสีขาวปกคลุมด้านนอก
ด้านในเกลี้ยง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย
โคนแคบสีเหลือง ช่วงบนสีฟ้าปลายแยกเป็น 5 แฉก
รูปสามเหลี่ยมปลายมน มีกลิ่นหอมชื่นใจ
อับเรณูสีน้ำเงิน ผลแห้งไม่แตก รูปไข่กลับ สีน้ำตาล
ประโยชน์ :
ปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้ง
ดอกมีกลิ่นหอม สรรพคุณทางสมุนไพร ใบแก้ไข้หวัด เจ็บคอ
ปวดตามข้อ-กล้ามเนื้อ แก้เยื่อจมูกอักเสบ
ดอกแก้ท้องเสีย ลูกขับเสมหะ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
เปลือกต้นแก้ริดสีดวง ยางฆ่าพยาธิผิวหนัง
|