ว่านธรณีสาร
ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Phyllanthus pulcher
Wall. ex Mull.Arg.
วงศ์ :
Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น :
กระทืบยอบ
(ชุมพร); ก้างปลา (นราธิวาส); ก้างปลาดิน, ดอกใต้ใบ
(นครศรีธรรมราช); ก้างปลาแดง, ครีบยอด (สุราษฎร์ธานี);
คดทราย (สงขลา); เดอก้อเนาะ (มลายู-นราธิวาส);
ตรึงบาดาล (ประจวบคีรีขันธ์); รุรี (สตูล);
ว่านธรณีสาร, เสนียด (กรุงเทพมหานคร)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้พุ่ม สูงไม่เกิน 1.5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ
รูปไข่แกมวงรี กว้าง 0.8-1.3 ซม. ยาว 1.5-2.5 ซม.
ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง แยกเพศ
อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้ออกเป็นกระจุกใกล้โคนกิ่ง
ดอกตัวเมียมักออกตอนปลายกิ่ง สีเขียวอ่อน
โคนกลีบสีแดงเข้ม ก้านดอกยาว ผลแห้ง แตกได้
ค่อนข้างกลม
ประโยชน์ :
ใบแห้ง ใช้บดเป็นผงแทรกพิมเสน กวาดคอเด็กเพื่อลดไข้
และรักษาแผลในปาก ภายนอกใช้พอกฝี บรรเทาอาการบวมและคัน
|