|
พญาไร้ใบ
ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Euphorbia tirucalli
L.
วงศ์ :
Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ
: Indian
Tree Spurge,
Milk Bush
ชื่ออื่น : เคียะจีน,
พญาร้อยใบ, พญาไร้ใบ (เชียงใหม่); เคียะเทียน (ภาคเหนือ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็กสูง 4 - 7 เมตร ไม่มีหนาม
มีน้ำยางสีขาวมาก อวบน้ำ แตกกิ่งก้านสาขามากกิ่ง
รูปทรงกระบอก สีเขียว เกลี้ยง ใบเดี่ยว
ออกเฉพาะที่ข้อส่วนปลายยอด ลดรูปเป็นแผ่นขนาดเล็ก
ร่วงง่าย ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง
ใบประดับสีเหลืองอ่อน ดอกตัวผู้และตัวเมีย
ไม่มีกลีบดอก อยู่ในช่อเดียวกัน ผล แห้ง แตกได้
ประโยชน์ :
พญาไร้ใบจัดเป็นพืชมีพิษ
เมื่อสัมผัสกับน้ำยางขาวจากต้นจะทำให้ผิวหนังอักเสบ
บวมเป็นผื่นแดง หากเข้าตาอาจทำให้ตาบอด
ใช้ยางขาวแต้มกัดหูด หัวริดสีดวงทวาร ในยางขาวมีสาร 4
deoxyphorbol และอนุพันธ์
ซึ่งมีฤทธิ์ระคายเคืองอย่างแรง
และเป็นสารร่วมก่อมะเร็ง จึงควรระวังในการใช้
ใช้ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ดังนี้ : หนอนกระทู้ผัก,
มอดแป้ง, เพลี้ยอ่อน, แมลงวันทอง, และ
ป้องกันแมลงในโรงเก็บ การนำไปใช้ทางการเกษตร
น้ำยางสีขาวมีพิษใช้ป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้
และสามารถยับยั้งการฟักไข่ของด้วงถั่วเขียวได้
|
|