|
ขันทองพยาบาท
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Suregada
multiflorum (A.Juss.)
Baill.
วงศ์ :
Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น :
กระดูก, ยายปลวก (ภาคใต้); ขนุนดง (เพชรบูรณ์);
ขอบนางนั่ง (ตรัง); ขัณฑสกร, ช้องรำพัน, สลอดน้ำ
(จันทบุรี); ขันทอง (พิจิตร); ขันทองพยาบาท, มะดูก,
หมากดูก (ภาคกลาง); ข้าวตาก (กาญจนบุรี); ขุนทอง,
คุณทอง (ประจวบคีรีขันธ์); โจ่ง (ส่วย-สุรินทร์);
ดูกไทร, ดูกไม้, เหมือดโลด (เลย); ดูกหิน (สระบุรี);
ดูกไหล (นครราชสีมา); ทุเรียนป่า, ไฟ (ลำปาง);
ป่าช้าหมอง, ยางปลอก, ฮ่อสะพายควาย (แพร่); มะดูกดง
(ปราจีนบุรี); มะดูกเลื่อม (ภาคเหนือ); เหล่ปอ
(กะเหรี่ยง-แพร่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ยืนต้น สูง 5-8 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 3-6 ซม.
ยาว 9-14 ซม. ดอกช่อ สีขาวนวลออกที่ซอกใบ แยกเพศ
อยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้มีขนาด 0.25 ซม.
มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ อยู่บนฐานรองดอกที่ลักษณะกลม
เกสรตัวผู้ 10-60 อัน ดอกเพศเมียขนาดเล็กกว่าดอกเพศผู้
มีรังไข่ 3 ช่อง ผล กลม ผิวเกลี้ยง ขนาด 2 ซม.
ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกสีเหลือง แก่แล้วแห้งแตกตามพู
เมล็ดรูปร่างค่อนข้างกลม ขนาด 0.7 - 0.8 ซม.
ออกดอกช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์
ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด
ประโยชน์ :
ตำรายาไทยใช้เนื้อไม้แก้ลมพิษ
แก้ไข้ แก้กามโรค เปลือกต้นเป็นยาบำรุงเหงือก
ทำให้ฟันทน แก้โรคผิวหนังกลาก เกลื้อน เป็นยาถ่าย
ฆ่าพยาธิ
|
|