|
พลวง
ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Dipterocarpus
tuberculatus
Roxb.
วงศ์ :
Dipterocapaceae
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น :
กุง (อุบลราชธานี, อุดรธานี, ปราจีนบุรี); เกาะสะแต้ว,
สะเติ่ง (ละว้า-เชียงใหม่); คลง (เขมร-บุรีรัมย์);
คลอง (เขมร); คลุ้ง (ชาวบน-นครราชสีมา); ควง
(พิษณุโลก, สุโขทัย); โคล้ง (เขมร-สุรินทร์); ตะล่าอ่ออาขว่า,
ล่าเทอะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่); ตึง, ตึงขาว
(ภาคเหนือ); พลวง, ยาง (ภาคกลาง,
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ยางพลวง (ภาคกลาง); พลอง
(ส่วย-สุรินทร์); แลเท้า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน);
สาละออง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
พลวงเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง
มีความสูงตั้งแต่ 20-30 เมตร
ทิ้งใบในช่วงสั้นๆนฤดูร้อน ลำต้นตรง
กิ่งอ่อนมีรอยแผลใบเห็นชัด กิ่งที่แตกแขนง มักคดงอ
ใบรูปไข่ มีขนาดใหญ่ กว้าง 12-30 ซม. ยาว 14-36 ซม.
เนื้อหนา เกลี้ยงหรือมีขนกระจายประปราย
โคนหยักเว้าตรงกลาง ปลายสอบ ใบอ่อน สีน้ำตาลแดง
กาบหุ้มยอดอ่อนมีสีเทามีขนอ่อนสั้นๆ ดอก
มีสีม่วงแดงถึงชมพู ออกเป็นช่อเดี่ยว ตามซอกใบ
และปลายยอด ดอกย่อยมีขนาด 3-4 ซม.
กลีบรองโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย มีสันตามยาวตื้นๆ
กลีบดอกมี 5 กลีบ เรียงเวียนคล้ายกังหัน ผล รูปกรวย
ส่วนโคน รูปกระสวยมี 5 สัน มีปีก 2 ปีก ขนาดความกว้าง
2.5-3.5 ซม. ยาว 10-15 ซม. มีเส้นปีกตามยาว 3 เส้น
ขึ้นได้ตามป่าที่ลาดต่ำ ที่ระดับความสูงตั้งแต่
100-1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ประโยชน์ :
ไม้ใช้ทำเครื่องเรือนใช้ใน การก่อสร้างอาคารบ้านเรือน
ใบใช้ในการ ทำฝากระท่อม หรือมุงหลังคา
ในทางยา ราก แก้ตับอักเสบ ต้น ทารักษาแผล ใบ แก้บิด
ถ่ายเป็นมูกเลือด
|
|