รัง
ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Shorea siamensis
Miq.
วงศ์ :
Dipterocapaceae
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น :
เปา, เปาดอกแดง (ภาคเหนือ); รัง (ภาคกลาง); เรียง,
เรียงพนม (เขมร-สุรินทร์); ลักป้าว (ละว้า-เชียงใหม่);
แลบอง, เหล้ท้อ, เหล่บอง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ฮัง
(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ต้น ผลัดใบ สูง
15-20
เมตร เปลือกลำต้นสีเทา แตกเป็นร่องลึกตามความยาวลำต้น
ใบ
เดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ กว้าง
7-12
เซนติเมตร ยาว
10-20
เซนติเมตร ปลายใบมน
โคนใบหยักเว้า ดอก
สีเหลือ กลิ่น หอมอ่อน ออกเป็นช่อ ผล
รูปกระสวยแหลม มีปีกยาว
3
ปีก ปีกสั้น
2
ปีก
ขึ้นในป่าเบญจพรรณแล้งและป่าแดงทั่วไป
ปะปนกับไม้เต็งซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล
500-1,000
เมตร มีความทนทานต่อความแห้งแล้ว ทนไฟได้ดีมาก
ออกดอกเดือน
มีนาคม
–
เมษายน
ประโยชน์ :
เนื้อไม้
ค่อนข้างแข็ง ใช้ก่อสร้างส่วนที่ต้องการความแข็งแรง
และทำเครื่องมือการเกษตร
|