|
ยางเหียง
ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Dipterocarpus
obtusifolius
Teijsm. ex Miq.
วงศ์ :
Dipterocapaceae
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น :
กุง (มลายู-ภาคใต้); เกาะสะเตียง (ละว้า-เชียงใหม่);
คร้าด (โซ่-นครพนม); ตะแบง (ภาคตะวันออก); ตะลาอ่ออาหมื่อ,
ล่าทะย่อง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่); ตาด (พิษณุโลก,
จันทบุรี); ยางเหียง (ราชบุรี, จันทบุรี); สะแบง
(อุตรดิตถ์, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); สาละอองโว
(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); เห่ง (ลัวะ-น่าน); เหียง
(ทั่วไป); เหียงพลวง, เหียงโยน (ประจวบคีรีขันธ์)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่สูง
10-20 เมตร ใบเดี่ยวรูปไข่ ขนาดใหญ่ กิ่งอ่อน
และใบมีขนสีขาวปกคลุม ดอกสีชมพู ออกดอกเป้นช่อตามซอกใบ
ผลกลม มีกลีบเลี้ยง เป็นปีกติดอยู่ 2 ปีก
เกิดตามป่าเต็งรังทั่วไปมีการขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ด
ประโยชน์ :
เป็นไม้ที่คนอีสานนิยมนำมาใช้ในการสร้างบ้าน
สร้างคอกสัตว์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นสมุนไพรด้วย ใบ
ต้มกับเกลือเล็กน้อยแก้ปวดฟัน แก้ฟันโยกคลอน ใบ,ยาง
กินเป็นยาตัดลูก ยาง สมานแผล แก้หนอง ขับเสมหะ
ขับปัสสาวะ รักษาแผลในทางเดินปัสสาวะ แก้ตกขาว
เปลือกต้น ต้มดื่มแก้ท้องเสีย
|
|