กระดังงาจีน
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Artabotrys
hexapetalus (L.f.)
Bhandari
วงศ์ :
Annonaceae
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น : กระดังงาจีน,
การเวก (ภาคกลาง);
สะบันงาจีน (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้เถาเนื้อแข็ง เลื้อยได้ไกล 10-15 เมตร
พันซุ้มให้ร่มเงาได้ดี ยอดสีเขียวอ่อนสีเขียว เรียบ
ไม่มีขนหรือมีน้อยมาก ใบ รูปไข่กลับ กว้าง 4-7 ซม. ยาว
8-16 ซม. ปลายใบแหลมโคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบ
สีเขียวเข้มเป็นมัน ไม่มีขน ใบหนา ก้านใบยาว 1 ซม. ดอก
ออกเป็นช่อดอกตรงข้ามใบ ก้านแบนและโค้งงอเป็นตะขอ
ดอกอ่อนสีเขียว เมื่อบานแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
มีกลิ่นหอม ก้านดอกยาว 1.5-2 ซม. กลีบเลี้ยงรูปไข่
สีเขียว ปลายกระดกขึ้น กลีบดอกเรียงเป็น 2 ชั้น
แต่ละกลีบหนา รูปรี ปลายแหลม กลีบชั้นนอกกว้าง 1-1.5
ซม. ยาว 2.5-4.5 ซม. กลีบชั้นในมีขนาดเล็กกว่า
กลีบดอกบานลู่ลง ผล เป็นผลกลุ่ม ก้านช่อผลยาว 1.5-2
ซม. มีผลย่อย 7-15 ผล รูปกลมรี กว้าง 1.5 ซม. ยาว 2
ซม. ปลายผลเป็นติ่ง ผลอ่อนสีเขียว
เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง แต่ละผลมี 1-2 เมล็ด
มักขึ้นอยู่ในที่โล่งแจ้งและดินมีความชุ่มชื้นปานกลาง
ออกดอกตลอดปี ผลแก่หลังจากออกดอกบาน 5 เดือน
ประโยชน์
:
ปลูกเป็นไม้ประดับเลื้อยไต่ซุ้ม และมักเรียกกันว่า
"การเวก" มีลักษณะของต้น ใบ ดอก คล้ายคลึงกับการเวก
แต่มีดอกดกกว่า หอมแรงกว่า กลีบดอกหนากว่า
สีเหลืองเข้มกว่า และกลีบบานลู่ลง มีใบเรียบเป็นมัน
ไม่มีขน
|