น้อยโหน่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Annona
reticulata L.
วงศ์ :
Annonaceae
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น : น้อยหนัง
(ภาคใต้); มะดาก (แพร่); มะเนียงแฮ้ง, มะโหน่ง (ภาคเหนือ);
เร็งนา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); หนอนลาว (อุบลราชธานี);
หมากอ้อ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน); น้อยโหน่ง (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง
แตกกิ่งกระจายรอบต้น ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่
ออกจากลำต้นแบบสลับ ก้านใบสั้น ใบมีกลิ่นเฉพาะตัว ดอก
ออกเป็นช่อ 2-4 ดอก มีกลีบรองกลีบดอกเล็กๆ 3 กลีบ
กลีบดอก 6 กลีบ เรียง 2 ชั้น ๆ ละ 3 กลีบ
ชั้นนอกสีเขียว ชั้นในสีเหลืองและบางกว่า
ดอกออกตามกิ่งแก่และกิ่งขนาดเล็ก ผล
เป็นชนิดผลกลุ่มรวมกันอยู่เหมือนเป็นผลเดียว
รูปร่างเหมือนน้อยหน่าหรือคล้ายรูปหัวใจ
แต่มีขนาดใหญ่กว่า และผิวผลเป็นตานูนแบน
ใหญ่กว่าน้อยหน่า เนื้อสีขาว เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม
เปลือกเมล็ดแข็ง ในแต่ละผลมีเมล็ดจำนวนมาก
น้อยโหน่งมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของอเมริกา
พบปลูกทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
ประโยชน์
: ทางอาหาร
ใช้รับประทานผลสด มีรสหวานมัน มีคุณค่าทางอาหารสูง
ทางสมุนไพร ราก แก้เหงือกบวม เปลือกต้น แก้บิดท้องเสีย
ใบ ฆ่าพยาธิผิวหนัง แก้ฟกบวม ผล แก้ท้องร่วง แก้บิด
แก้โรคซาง แก้ลมจุกเสียด
แก้พยาธิในท้องและพยาธิผิวหนัง
|