กลึงกล่อม
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Polyalthia
suberosa (Roxb.)Thwaites
วงศ์ :
Annonaceae
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น : กระทุ่มกลอง,
กระทุ่มคลอง, กลึงกล่อม, ชั่งกลอง, ท้องคลอง (ราชบุรี);
กำจาย (นครสวรรค์); ไคร้น้ำ (อุตรดิตถ์); จิงกล่อม (ภาคใต้);
ช่องกลอง (กาญจนบุรี); น้ำนอง (ปัตตานี, ภาคใต้);
น้ำน้อย (เลย); ผักจ้ำ, มะจ้ำ (ภาคเหนือ); มงจาม (อ่างทอง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-5 เมตร
ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม
เปลือกสีน้ำตาลเข้มย่นเป็นสันขรุขระ ใบ เดี่ยว
เรียงสลับ ใบรูปขอบขนาน กว่าง 1.7-3.5 ซม. ยาว 5-10
ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ เบี้ยวเล็กน้อย
ขอบใบเรียบหรือม้วนงอขึ้น แผ่นใบเกลี้ยง
กิ่งมีช่องระบายอากาศเป็นตุ่มสีเทาอมชมพูกระจายทั่วไป
เส้นแขนงใบ ข้างละ 7-8 เส้น ก้านใบยาว 3-5 มม. ดอก
สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม
ออกเป็นดอกเดี่ยวตามกิ่งหรือตรงข้ามใบใกล้ปลายกิ่ง
กลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอกเรียงเป็น 2 ชั้น ๆ ละ 3
กลีบ ก้านดอกยาว 1.3-3.2 ซม. ดอกบานเต็มที่กว้าง 1-1.6
ซม. ผล สดมีเนื้อเมล็ดเดียว ออกเป็นผลกลุ่ม
มีหลายผลอยู่บนแกนตุ้มกลาง ก้านช่อผลยาว 3-5 ซม.
ผลกลุ่มสุกสีม่วงดำ ขนาด 5-7 มม.
มักขึ้นตามที่โล่งบริเวณที่มีดินร่วน ระบายน้ำดี
ริมคลองหรือที่ราบน้ำท่วมเป็นครั้งคราว
ออกดอกติดผลตลอดปี
ประโยชน์
: ปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงา
ใบและกิ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อโรคเอดส์ในหลอดทดลอง
รากและเนื้อไม้แก้ไข้ ร้อนใน ขับพิษ
|