ยางโอน
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Polyalthia
viridis Craib
วงศ์ :
Annonaceae
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น : ขะมอบ
(จันทบุรี); ขี้ซาก, อีโด่ (เลย); ขี้แฮด (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน);
ตองห่ออ้อย, ยางพาย (เชียงใหม่); ตองเหลือง (ลำปาง,
เพชรบูรณ์); ยางดง (ราชบุรี); ยางโดน (ขอนแก่น,
อุตรดิตถ์, แพร่); ยางอึ้ง (พิษณุโลก, สุโขทัย);
ยางโอน (พิจิตร, พิษณุโลก); สามเต้า (ลำปาง)
ลักษณะ :
ยางโอนเป็นไม้ต้น สูง 10–15 ม.
เรือนยอดเป็นพุ่มรูปกรวยคว่ำ ถึงค่อนข้างกลม
ลำต้นเปลาตรง เปลือกเรียบสีเทาปนน้ำตาล
กิ่งอ่อนมีขนประปราย ใบ เดี่ยว
เรียงสลับสองข้างของกิ่งในระนาบเดียวกัน
แผ่นใบรูปขอบขนาน กว้าง 8–13 ซม. ยาว 18–25 ซม.
ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ปลายใบมนถึงแหลม โคนใบมน
ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เส้นแขนงใบ 15–18
คู่ ดอก สีเขียวอ่อน ออกเป็นกระจุก 3–5 ดอก ตามกิ่ง
กลีบดอก 6 กลีบ เรียงสลับเป็น 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ
แต่ละกลีบรูปขอบขนานแคบ กว้าง 0.3–0.8 ซม. ยาว 1.5–4
ซม. ผล ออกเป็นกลุ่ม แต่ละผลรูปกลมรี กว้างประมาณ 1.5
ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. ผลแก่สีเหลืองอมส้ม มี 1 เมล็ด
ยางโอนมีการกระจายพันธุ์ในป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก
และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง
100–500 ม. ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์–มีนาคม
ผลแก่เดือนมีนาคม–เมษายน
ประโยชน์
:
เนื้อไม้สีขาวปนเหลืองอ่อน เลื่อยไสกบตบแต่งได้ง่าย
นิยมใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ภายในร่ม |