โมกใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Holarrhena
pubescens Wall. ex
G.Don
วงศ์ :
Apocynaceae
ชื่อสามัญ
: -
ชื่ออื่น :
ซอทึ, พอแก, ส่าตึ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); พุด
(กาญจนบุรี); พุทธรักษา (เพชรบุรี); มูกมันน้อย,
มูกมันหลวง, มูกหลวง, โมกเขา, โมกทุ่ง, โมกหลวง
(ภาคเหนือ); โมกใหญ่ (ภาคกลาง); ยางพูด (เลย);
หนามเนื้อ (เงี้ยว-ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-10 เมตร
ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม
กว้าง 3.5-14 ซม. ยาว 7-30 ซม. ก้านใบยาว 0.4-1.2 ซม.
แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ รูปรีหรือขอบขนาน
โคนใบป้านหรือรูปลิ่ม ปลายเรียวแหลม หรือเป็นติ่งแหลม
ขอบเรียบ ผิวใบด้านบนและด้านล่างเป็นมัน เกลี้ยง
หรือมีขนสั้นนุ่ม ดอกช่อแบบช่อกระจุก ดอกย่อยมีก้าน
ดอกย่อยที่ด้านข้างเท่ากัน
มีขนาดเล็กกว่าดอกย่อยที่ตรงกลางช่อ ช่อดอกยาว 4-14
ซม. ก้านช่อยาว 0.9-3.5 ซม. หรือไม่มีก้านช่อ
ทุกส่วนเกลี้ยง หรือมีขนสั้นนุ่ม ดอกย่อยประกอบด้วย
ก้านดอกย่อยสั้นมากหรือไม่มีก้าน ก้านดอกย่อย
วงกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก
ปลายของแต่ลุแฉกแหลม วงกลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปดอกเข็ม
ปลายแยก 5 แฉก กว้างประมาณ 0.4-0.8 ซม. ยาวประมาณ
0.7-2.3 ซม. สีขาว รูปขอบขนาน ปลายมน เกสรเพศจำนวน 5
อัน แยกกัน เกสรเพศเมีย 1 อัน อยู่เหนือวงกลีบ
ผลแตกแนวเดียว รูปแถบเรียวยาว กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาว
37-45 ซม. ก้านผลยาว 1.6-2.5 ซม. เมล็ดจำนวนมาก
มีปีกบาง
ประโยชน์ :
ปลูกเป็นไม้ประดับ
เนื้อไม้เหนียว ไสกบแต่งได้ง่าย ใช้ทำสันแปรง กรอบรูป
เครื่องตกแต่งบ้าน เครื่องใช้สอย ได้แก่ ไม้เท้า
ด้ามปากกา ไม้บรรทัด ไม้ฉาก ตะเกรียบ หวี
ของเล่นสำหรับเด็ก
เปลือกไม้มีสรรพคุณทางยาเกี่ยวกับการรักษาโรคบิด |