ภูมิศาสตร์มนุษยโลก
ใครเป็นผู้สร้างโลก
?
ข้อนี้เป็นปัญหาปรัชญานาคิด
คนทุกศาสนาถกปัญหานี้กันตามทรรศะของตน
สำหรับคติข้างพราหมณ์
ถือว่า
พระพรหมเป็นผู้สร้าง
ส่วนคติพุทธศาสนานั้นนัยว่าสมเด็จพระบรมศาสดาของเรามิได้ทรงกล่าวถึงเรื่องการสร้างโลก
แต่ท่านได้ตอบอย่างฉลาดว่า
เรื่องการสร้างโลกนั้นไม่ควรพะวงถึง
เขาจะทราบกันเองในอนาคตว่าใครเป็นผู้สร้าง
มนุษย์มาจากไหน
? นี่เป็นปัญหาน่าคิด
คติข้างพราหมณ์ว่ามนุษย์มากจาก
มนู คือคนที่ ๑
ที่พระพรหมสร้างขึ้น
มนูจึงเป็นปฐมชนกแห่งคนในโลก
นี่เป็นความคิดครั้งแรกรุ่นเดียวกันกับที่มีพระเวทขึ้น
ฎีกามาลัยสูตรก็ให้คำแปลมนุษย์ไว้
๓ อย่างคือ
-
ผู้เป็นเหล่ากอของพระมนู
-
ผู้รู้สิ่งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์
-
ผู้มีจิตใจสูง
ในตอนหลังเกิดตำรับกฎหมายขึ้นชื่อว่ามานวธรรมศาสตร์กล่าวว่า
พระมนูเป็นผู้สร้างตำรับนี้และพระมนูองค์นี้ได้สร้างมนุษย์ขึ้นก่อนจะสร้างกฎหมาย
ตามตำรับนี้ถือว่า
พระมนูมิได้มีเพียงองค์เดียว
แต่มีถึง ๑๔ องค์
ที่เกิดแล้วก็มีอยู่ ๗
องค์ชื่อ
-
พระมนูสวายัมภูวะ
(เป็นโอรสพระพรหมและผู้แต่งตำรับมานวธรรมศาสตร์)
-
พระมนูสวาโรจิษะ
-
พระมนูเอาตตมิ
-
พระมนูตามะสะ
-
พระมนูไรวตะ
-
พระมนูจากษุษะ
-
พระมนูไววัสวัต
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ
ได้ทรงเล่าไว้ในหนังสือบ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ว่า
" เมื่อสิ้นมนูยุคที่ ๖
แล้วก็เริ่มมันวันตะระที่
๗
คือยุคของพระมนูไววัสวัต
พระมนูได้ช้อนปลาเล็กได้ตัวหนึ่ง
ซึ่งนำไปเลี้ยงไว้
แต่หาภาชนะอะไรใส่ไม่พอเลย
ยิ่งหาภาชนะโตขึ้นปลาก็โตขึ้นตาม
จนปล่อยสระก็สระคับแคบ
ปล่อยแม่น้ำก็คับแม่น้ำ
ปล่อยมหาสมุทรก็เต็มมหาสมุทร
พระมนูรู้ว่าเป็นพระเป็นเจ้า
ก็นมัสการตามสมควร
พระมัตสยาวตารจึงสอนให้พระมนูต่อเรือลำใหญ่
ต้อนสัตว์ลงไปอย่างละคู่
และเก็บพืชพรรณต่างๆอย่างละเล็กละน้อยไปในเรือนั้น
ครั้นอยู่มาไม่ช้าก็มีฝนแสนห่าตกท่วมโลก
พระมนูลงเรืออยู่แล้วจึงไม่เป็นอันตราย
และพระมนูโยงเรือนั้นเข้ากับพระมหามัตสยะ
พระมหามัตสยะก็ลากเรือแล่นไป
และกล่าวอนุศาสน์พระมนูในกิจการตางๆ
จนเมื่อฝนหายและน้ำลดแล้ว
พระมนูจึงขึ้นจากเรือ
พระมนูนี้เรียกว่า
ประชาบดี
เพราะเป็นมหาชนกแห่งชนทั้งปวง
บรรดาที่มีอยู่ในโลกนี้และโดยเหตุที่ชนได้กำเนิดมาแต่กพระมนูจึงได้นามว่ามนุษย์
"
ส่วนพระมนูที่จะมาเกิดในอนาคตอีก
๗ องค์นั้นมีนามดังนี้
-
พระมนูสาวรณี
-
พระมนูทักษะสาวรณี
-
พระมนูพรหมสาวรณี
-
พระมนูธรรมสาวรณี
-
พระมนูรุทรสาวรณี
-
พระมนูเราจะยะ
หรือเทวสาวรณี
-
พระมนูเภาตยะ
หรืออินทรสาวรณี
ภูมิศาสตร์มนุษยโลกนี้มุ่งหมายจะเขียนเพื่อนักศึกษวรรณคดี
ไม่ใช่เพื่อนักศึกษาภูมิศาสตร์
ตามตำรับภูมิศาสตร์โบราณ
ท่านแบ่งมนุษย์โลกว่ามีอยู่
๔ ทวีป คือ
-
ทวีปอุตตรกุรุ
อยู่ทางเหนือ
คนมีรูปหน้าเป็นสี่มุม
คือหน้าสี่เหลี่ยม
-
ชมพูทวีป
อยู่ทางใต้
คนมีรูปหน้ากลมดังดุมเกวียน
-
ปุพพวิเทห์
อยุ่ทางตะวันออก
คนมีรูปหน้าดังจันทร์เพ็ญ
กลมดังหน้าแว่น
-
อมรโคยาน
อยู่ทางทิศตะวันตก
คนมีรูปหน้าดังเดือนแรม
๘ ค่ำ
ในระหว่างทวีปเหล่านี้มีมหาสมุทรคั่น
ดังที่นายนรินทร์เรียกว่า
นทีสี่สมุทร
ดังโคลงของท่านที่ว่า
ี่นทีสี่สมุทรม้วย
ตีมิงคล์มังกรนาคผาย
หยาดเหมพิรุณหาย
แสนสาดแสนร้อยร้อน |
|
หมดสาย
ผาดส้อน
เหือดโลก แล้งแม่
ฤๅเถ้าเรียมทน |
ทวีปทั้ง ๔
นี้ศ฿กษาจากหนังสือไตรภูมิพระร่วงพอเก็บความได้ดังนี้
-
อุตตรกุรุทวีป
ทวีปนี้อยู่ทางเหนือของภูเขาพระสุเมรุมีพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม
เนื้อที่กว้าง ๘,๐๐๐
โยชน์
เป็นที่ราบมีต้นไม้นานาชนิด
คนรูปร่งงาม
ในแผ่นดินอุตตรกุรุมีต้นกัลปพฤกษ์ต้นหนึ่ง
คนจึงไม่ต้องทำงาน
อยากได้อะไรก็ไปนึกเอาที่ต้นกัลปพฤกษ์
-
ชาพูทวีป
ชมพูทวีปคืออินเดีย
อยู่ทางใต้เขาพระสุเมรุ
รุปเหมือนรูปเกวียน
มีต้นไม้หว้ามากในทวีปนี้
ประเทศเราโบราณถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชมพูทวีป
-
ปุพพวิเทห์
ทวีปนี้ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเขาพระสุเมรุ
มีรูปเหมือนพระจันทร์เต็มดวง
เนื้อที่กว้าง ๗,๐๐๐
โยชน์ มีเกาะ ๔๐๐
เกาะ
มีไม้ซีกประจำทวีปนี้
คนหน้ากลมดังพระจันทร์
-
ทวีปอมรโคยาน
ทวีปนี้ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเขาพระสุเมรุ
มีรูปเหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก
เป็นแผ่นดินกว้าง ๙,๐๐๐
โยชน์ ประกอบด้วยเกาะ
และแม่น้ำใหญ่น้อย
มีไม้กระทุ่มประจำทวีปนี้
คนหน้าดังเดือนแรม
จมูกโด่งคางแหลม.
|