หิ่งห้อย  (Firefly)

   Home   I  ห้องสมุด

          
       หิ่งห้อย
เป็นแมลงพวกด้วงปีกแข็ง  จัดอยู่ในอันดับ คอลีออพเทอร่า ( Coleoptera) วงศ์แลมพายริดี้ ( Lampyridae ) มีลักษณะลำตัวยาวรี  ตัวเต็มวัยของหิ่งห้อยเพศผู้มีปีกเสมอ  ส่วนเพศเมียมีทั้งชนิดที่มีปีกและชนิดไม่มีปีก  ซึ่งมีลักษณะเป็นหัวหนอน  หิ่งห้อยที่มีปีกมีลำตัวยาวตั้งแต่ 4-25 มิลลิเมตร แล้วแต่ชนิด  ส่วนเพศเมียที่เป็นตัวหนอนอาจมีลำตัวยาวถึง 100 มิลลิเมตร

hinghoi1.gif (29456 bytes)

hinghoi2.gif (33681 bytes)

hinghoi5.gif (26669 bytes)

hinghoi4.gif (29015 bytes)

pteroptyx valida  Olivier

Pteroptyx malaccae  Gorham

Pyrocoelia praetexta  Olivier

Pyrocoelia grata  Olivier

Pyrophanes indica Motschulsky

       

         หิ่งห้อย มีอวัยวะทำแสงอยู่ที่ปล้องปลายท้องซึ่งมีอยู่  2 ปล้องในเพศผู้ และ 1 ปล้องในเพศเมีย  ตัวอ่อนหิ่งห้อยเป็นตัวหนอนที่มีอวัยวะทำแสงอยู่ที่ปลายท้อง  ไข่ของหิ่งห้อยบางชนิดมีแสง
         แสงของหิ่งห้อยเกิดจากขบวนการทางเคมี  โดยในปล้องแสงของหิ่งห้อยมีสารลูซิเฟอริน (Luciferin) รวมทั้งได้รับพลังงาน เอทีพี (ATP: Adenosine Triphoshate) ซึ่งเป็นโปรตีนให้พลังงานในเซลล์  ทำให้เกิดแสงที่เรามองเห็นได้ในเวลากลางคืน  หิ่งห้อยกระพริบแสงเพื่อเป็นสื่อให้คู่ของมันมาผสมพันธุ์
         การกระพริบแสงของหิ่งห้อยมีอยู่ 2 แบบ คือ  กระพริบแสงพร้อมกันและไม่พร้อมกัน  จังหวะการกระพริบแสงของหิ่งห้อยสามารถบอกถึงความแตกต่างของหิ่งห้อยแต่ละชนิดได้  หิ่งห้อยทำแสงทั้งช่วงเวลากลางวันและช่วงเวลากลางคืน

hinghoi7.gif (11932 bytes)


           หิ่งห้อยตัวเต็มวัยไม่กินอาหาร เพียงแต่กินน้ำหรือน้ำค้างที่เกาะอยู่ตามใบไม้  ส่วนตัวหนอนเป็นตัวห้ำ ส่วนใหญ่กินหอยเป็นอาหาร  หอยที่เป็นอาหารหิ่งห้อยมีหลายชนิดที่เป็นพาหะของพยาธิต่างๆ เช่น พยาธิใบไม้ในเลือดหรือพยาธิใบไม้ในตับของคนและสัตว์  จึงเป็นการกำจัดไม่ให้พยาธิแพร่ระบาดได้
          หิ่งห้อยเมื่อผสมพันธุ์แล้ววางไข่เป็นฟองเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มตามใบพืชหรือน้ำหรือตามดินที่ชื้นแฉะ ไข่ฟักออกเป็นตัวหนอนซึ่งมีอยู่ 4-5 วัย  จึงเข้าดักแด้แล้วออกมาเป็นตัวเต็มวัย  วงจรชีวิตของหิ่งห้อยใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 3-12 เดือน แล้วแต่ชนิด


ในเวลากลางวันหิ่งห้อยหลบซ่อนตัวอยู่ตามพงหญ้าหรือวัชพืชในที่ชื้อแฉะ  หรือหลบตามกาบไม้ซอกไม้ต่างๆ ในเวลากลางคืนจึงบินออกมาจับคู่ผสมพันธุ์และวางไข่  ตัวหนอนหิ่งห้อยมีแหล่งอาศัยแตกต่างกันไปตามชนิด  ส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณที่ชุ่มชื้นและสะอาด ไม่มีมลพิษจากสิ่งแวดล้อม  เช่น ตามทุ่งนาและบ่อน้ำตามชนบท  บางชนิดอยู่ตามดินในป่าและตามป่าชายเลน
       ต้นไม้ที่หิ่งห้อยชอบเกาะกระพริบแสง ส่วนใหญ่เป็นต้นไม้ที่มีใบโปร่ง ในธรรมชาติพบเกาะอยู่ตามต้นลำพู ต้นแสม ต้นโกงกาง ต้นโพทะเล และต้นทิ้งถ่อน รวมทั้งต้นไม้ที่อยู่ตามริมน้ำต่างๆ
          

     
         เนื่องจากหนอนหิ่งห้อยอาศัยอยู่ได้เฉพาะในแหล่งที่สะอาดเท่านั้น  การอนุรักษ์หิ่งห้อยทำได้โดยการรักษาแม่น้ำ ลำคลอง บึงต่างๆให้สะอาด โดยไม่ทิ้งขยะ หรือสารเคมีลงในแหล่งน้ำ  รวมทั้งอนุรักษ์ป่าไม้เช่น ป่าต้นน้ำ  และป่าชายเลนให้อุดมสมบูรณ์  ทำให้หิ่งห้อยสามารถขยายพันธุ์ดำรงชีวิตอยู่ได้ เป็นการเพิ่มความสวยงามให้แก่ธรรมชาติต่อไป.


                                                                                    


Home   I  ห้องสมุด