ปากกาและหมึก

ScarabBeetleThumb.gif (15661 bytes)


          การวาดภาพด้วยหมึกไม่มีบริเวณฮาล์ฟโทน เหมือนการวาดด้วยดินสอหรือ สีฝุ่น ดังนั้นเมื่อต้องลงแสงเงา จึงใช้เวลานาน ยิ่งถ้าภาพมีรายละเอียดมากยิ่งต่องพิถีพิถัน ภาพที่เหมาะจะใช้เทคนิคนี้จึงควรมีขนาดไม่เกิน 11x 16 นิ้ว (A3) ไม่ควรวาดภาพขนาดเล็กมากที่ต้องมีการขยายเพราะเส้นจะแตกไม่คมชัดและไม่ควรย่อภาพเกิน 10-15 % เพราะจะเสียรายละเอียดสำคัญไป กลายเป็นสีดำทั้งผืน
          วัสดุที่ใช้ในการลงหมึกที่สำคัญคือ กระดาษ ซึ่งควรเรียบลื่น และมีความหนาพอที่จะรับหมึกได้โดยไม่ซึม กระดาษลอกลาย (tracing paper) ใช้ลอกภาพร่างมาลงกระดาษเพื่อลงหมึก เพื่อเก็บภาพร่างไว้อ้างอิง และเพื่อให้ภาพสะอาด กระดาษไขเขียนแบบ ( drafting film ) ใช้ลงหมึกได้ดี เส้นที่ผิดพลาดเล็กน้อย สามารถขูดออกด้วยมีดได้ แต่ถ้าปากกาเขียนแบบ (technical pen) อาจทำให้หัวปากกาสึกเร็ว หมึก ที่ใช้ในการวาดภาพทางวิทยาศาสตร์นิยมใช้หมึกดำ indian ink  เพราะเป็นสีที่ดำสนิทและกันน้ำ ในการเลือกใช้หมึก ควรสังเกตความเข้มของสี ความโปร่งแสง การสะท้อน ความข้น และผลต่อกระดาษที่ใช้ โดยควรทดลองลงหมึกบนกระดาษก่อนวาดจริง หมึกที่ทิ้งไว้นานอาจตกตะกอน หรือข้นขึ้น อาจเติมน้ำประปาหรือน้ำยาล้างจาน 1-2 หยดลงไปเพื่อช่วยหล่อลื่นได้ นอกจากหมึกดำแล้ว อาจมีหมึกสีขาวไว้เพื่อลบเส้นที่ผิด หรือวาดลงบนกระดาษสีดำ ปากกาคอแร้ง ขายแยกหัวกับด้าม ควรเลือกหัวคอแร้งที่ยืดหยุ่น เพื่อให้สามารถลงเส้นบางเส้นหนาได้ตามต้องการ ยี่ห้อที่ใช้ เช่น Gilliott 290,291,659, Hunt 100,102,104 และ Esterbrook 354,355  ปากกาเขียนแบบ ให้เส้นหรือจุดที่สม่ำเสมอเหมือนกันหมด หมึกที่ใช้เป็นหมึกเติมได้หรือยู่ในหลอดสำเร็จรูป หากเก็บไว้นานๆ หมึกอาจแก้ง ควรตั้งไว้ให้ปากอยู่ข้างบน ยี่ห้อที่นิยม เช่น Rotring และ Reform ขนาด 0.18, 0.25 และ 0.3 mm พู่กัน ใช้เบอร์ 0 เป็นส่วนใหญ่ยี่ห้อที่นิยม เช่น Winsor & Newton และ Grumbacher  ยางลบดินสอ ใช้ลบรอยดินสอจากการร่างภาพ หนังชามัวและฟองน้ำ ใช้ทำความสะอาดปลายปากกาคอแร้ง มีดคม ใช้ขูดลบเส้นผิดบนกระดาษไข และใช้ตัดขนพู่กันที่บานไม่ได้รูป แว่นขยาย ใช้ตรวจความคมชัดและความดำของเส้นหมึก

          ขั้นตอนการลงหมึก

  1. ลอกภาพร่างลงบนกระดาษที่จะลงหมึก

  2. ลองเส้นหมึกบนกระดาษชนิดเดียวกันก่อน

        การลงหมึก

          z ลงหมึกบริเวณเงาก่อนเว้นบริเวณไฮไลท์ให้ขาวไว้  หรือถ้าจะลงหมึกบริเวณไฮไลท์ก็ต้องใช้เส้นบางกว่า
         
z เส้นหมึกบนวัตถุที่มีความบาง ควรเป็นเส้นบาง
         
z เส้นที่ตัดกันเป็นมุมควรเติมหมึกเพิ่ม โดยเฉพาะในภาพที่แสดงกล้ามเนื้อ
             z หมึกเส้นหนาและห่าง แสดงวัตถุที่อยู่ใกล้ หมึกเส้นบางถึ่แสดงวัตถุที่อยู่ไกล
         
z การวาดเส้นตัดกัน ควรเว้นเส้นขาด เช่น วาดขนลงบนเส้นโครง อาจวาดขนก่อนแล้ววาดเส้นโครงโดยเว้นเส้นโครง หรือ  
                 วาดทั้งสองเส้นแล้วขูดหรือลบเส้นโครงออกเป็นระยะๆ เส้นขาดช่องใหญ่จะแสดงระยะห่างมากระหว่างเส้นขนกับเส้นโครง(และแสดงไฮไลท์สว่าง)
         
z ถ้าต้องการแสดงความโปร่งใส ให้ใช้เส้นหนาหรือชิดกันบนวัตถุที่อยู่ใต้วัตถุโปร่งใส
         
z มื่อลงหมึกเสร็จแล้ว ค่อยๆ ลบรอยดินสอออก พยายามอย่าลบลงบนเส้นหมึก แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจต้องเติมหมึกทับบริเวณที่จาง
          
        รูปแบบการลงหมึก

  1. จุด (stippling)
    z การใช้จะง่ายกว่าการใช้เส้น แต่จะเสียเวลามากกว่า
    z
    จุดเล็กดูนุ่มนวลกว่าจุดใหญ่ ถ้าวาดจุดใหญ่ไปอาจลบด้วยหมึกขาว หรือ ขูดออก
    z
    ควรเริ่มจากการลงจุดห่างๆก่อน แล้วค่อยๆ เติมเพิ่มจุด
    z
    ไม่ใช้ขีด และอย่าให้จุดเรียงแถว หรือเรียงเป็นรูปเรขาคณิต จุดควรกระจาย
    z
    จุดควรห่างจากกันอย่างน้อยเท่ากับเส้นผ่าศูนย์กลางของจุด มิฉะนั้นจะกลืนกันเป็นผืนเดียว

  2. เส้นตวัด (eyelashing) ใช้ปากกาเขียนแบบทำไม่ได้ ต้องใช้ปากกาคอแร้ง หรือพู่กัน โดยลากเส้นหนาตรงกลาง ปลายเรียวบาง

  3. เส้นตัด (crosshatching) ใช้เส้นตัดรูปขนมเปียกปูนดีกว่าเส้นตาราง ควรมีขอบ outline เพื่อให้ดูเป็นกลุ่มก้อน

  4. เส้นขนาน (parallel) ถ้าใช้มากอาจทำให้ลายตา