[x]ปิดหน้าต่าง
Start by Narongrit.net & Powered by ## MAXSITE 1.10 plus ##

About Us


    


               ในการเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ วันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต และจากการที่ได้ทรงเป็นองค์ประธานในการเปิดประชุมวิชาการนิทรรศการทรัพยากรไทย:ผันสู่วิถีใหม่ในฐานไทย ทรงเปิดศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรภาคตะวันออก และห้องปฏิบัติการ DNA-Fingerprint  สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี ทอดพระเนตรนิทรรศการของหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ อพ.สธ. เช่นโรงเรียนสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน   เกษตรกร  หน่วยงานส่วนราชการ และเอกชน มหาวิทยาลัย  จังหวัด  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ อันเนื่องมา จากพระราชดำริ  มากกว่า 200 แห่ง จากการเตรียมการตลอดจนการจัดการประชุมในเรื่องทรัพยากรไทย:ผันสู่วิถีใหม่ในฐานไทย ครั้งนี้ทำให้ อพ.สธ. นำแนวพระราชดำริมาวิเคราะห์ความเป็นฐานไทย ฐานชุมชน  ฐานของหน่วยงานส่วนราชการ มหาวิทยาลัย โรงเรียนที่ร่วมสนองพระราชดำริ  นำไปสู่การเรียนรู้ทรัพยากรท้องถิ่น  ได้แก่ ทรัพยากรกายภาพ  ทรัพยากรชีวภาพ และทรัพยากรทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา   การดำเนินงานนี้จำเป็นประสานกับท้องถิ่น  ชุมชน  เพื่อการดำเนินการสำรวจฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น  และการจัดตั้งศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่น  เช่น ศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรภาคตะวันออก  สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี ศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่น ตำบลที่ร่วมสนองพระราชดำริอื่น ๆ  จากพระราชกระแสที่พระราชทานเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2548  ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา  “  ทำอย่างไร ให้ชุมชน  มาให้โรงเรียน โดยเฉพาะนักเรียนช่วยในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช  และให้มีการทำ DNA Fingerprint ในโรงเรียน ”  และทรงย้ำเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2550  ณ อาคารชัยพัฒนา  สวนจิตรลดา “  ให้เร่งอนุรักษ์และหาวิธีการรักษาสิทธิ “  จึงเป็นแนวทางให้ อพ.สธ. และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ตลอดจนชุมชน ให้ช่วยดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  อพ.สธ.ดำเนินการสนับสนุนให้ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ชุมชน โรงเรียน  สถานศึกษา   มหา วิทยาลัยในท้องถิ่น   ดำเนินการนี้ โดยมีนักเรียนนักศึกษา เป็นผู้ทำการสำรวจให้รู้จักทรัพยากรที่จะต้องอนุรักษ์  นำไปสู่การพัฒนาใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน สู่เศรษฐกิจพอเพียง

    จากการที่ได้พระราชทานแนวทางการทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น โดยมีโรงเรียนเป็นกำลังนั้น อพ.สธ. จึงได้ประสานกับหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริอพ.สธ. ในการจัดทำแผนที่ทางภูมิศาสตร์ (GIS) และฐานข้อมูลทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา เนื่องจากเป็นเรื่องที่สำคัญและเร่งด่วน เนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวด ล้อมที่รวดเร็วของประเทศไทย ประจวบกับการอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD) สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยพันธุกรรมพืชอาหารและการเกษตร (ITPGR) ที่เป็นพันธะสัญญาระหว่างประเทศ  และการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน จึงนำไปสู่การรักษาฐานทรัพยากรเพื่อการพึ่งพาตนเอง ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง และโดยที่การดำเนินงานในทรัพยากรนั้น หมายถึงการดำเนินงานในภาพรวมทั้ง 3 ฐานทรัพยากร (ทรัพยากรกายภาพ  ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา) จากแนวคิดที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจะต้องเข้ามามีส่วนร่วม เนื่องจากตามรัฐธรรมนูญให้เป็นผู้ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดูแลการศึกษา และประโยชน์สุขของท้องถิ่น  จากการที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้รับการถ่ายโอนภารกิจจากกระทรวง ทบวง  กรมต่าง ๆ มากว่า 245  ภาระกิจ ซึ่งภาระกิจหนึ่งจากกรมส่งเสริมการเกษตรในเรื่องแผนพัฒนาการเกษตรของท้องถิ่น  และตามพรบ.คุ้มครองพันธุ์พืชปี พ.ศ. 2452 ในเรื่องการดูแลทรัพยากรชีวภาพและเรื่องสิทธิชุมชน โดยหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ อพ.สธ. และโรงเรียนสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โดยมีแผนการดำเนิน งานนำร่องที่จังหวัดนนทบุรี พังงา ปัตตานี เชียงราย น่าน และจังหวัดนครราชสีมา เพื่อเป็นตัวอย่างแก่จังหวัดอื่น ๆ ต่อไป